ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย วิสัยทัศน์ องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ “มุ่งมั่นพัฒนา ประสานการมีส่วนร่วม สร้างเสริมชีวิตที่ดี ประชาชนมีสุข”

ปลัด

สายตรงท่านนายก






333

ศูนย์ดำรงธรมม

facebook

ระบบสารสนเทศ

ปราบปรามทุจริต

องค์กรอื่นๆ

ข่าวสารอาเซียน

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 13/02/2562
วันนี้
70
เมื่อวานนี้
71
เดือนนี้
0
เดือนที่แล้ว
12,266
ปีนี้
53,215
ปีที่แล้ว
35,719
ทั้งหมด
184,088
ไอพี ของคุณ
18.232.179.37

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ

 

สภาพทั่วไป


1.  ที่ตั้ง  
        องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ได้รับการจัดตั้งมาจากสภาตำบลม่วงคำ  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่  30 มีนาคม  2539 มีขนาดพื้นที่  ประมาณ  40  ตารางกิโลเมตร  ตั้งอยู่เลขที่  667  หมู่ 1  ตำบลม่วงคำ  อำเภอพาน  จังหวัดเชียงราย   


2.  อาณาเขต  ขององค์การบริหารส่วนตำบล มีดังนี้
        ทิศเหนือ         ติดต่อกับ    ตำบลเมืองพาน
        ทิศใต้             ติดต่อกับ    ตำบลแม่เย็น
        ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ    ตำบลหัวง้ม  และ  ตำบลทานตะวัน
        ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ    ตำบลป่าหุ่ง

        ตำบลม่วงคำมีพื้นที่รับผิดชอบรวมทั้งหมด  37,807.201ไร่  หรือเนื้อที่  60.492 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นพื้นที่อาศัย  6,196.99    ไร่  พื้นที่ตั้งสถานที่ราชการ 16.50 ไร่   พื้นที่สาธารณะ/สวนสาธารณะ/นันทนาการ 451 ไร่   พื้นที่เกษตรกรรม   26,723.212ไร่   พื้นที่ป่าไม้  4,419.502 ไร่

 

 

3. สภาพภูมิประเทศ


      สภาพโดยทั่วไปของตำบลม่วงคำ จะเป็นที่ราบกว้างมีภูเขาและป่าโปร่ง พื้นที่ราบส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่ หมู่ 1 , 2, 3, 4 , 5, 6, 7 , 8 , 14, 16 และ หมู่ 17 ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ทำนา และที่อยู่อาศัยของราษฎร ส่วนพื้นที่เนินเขา ส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่ หมู่ 9, 10 , 11 , 12 , 13 และ หมู่ 15 อยู่ทางทิศตะวันตกของตำบล ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ ที่มีการปลูกพืชยืนต้น และผลไม้ ซึ่งมีพื้นที่ติดกับอุทยานแห่งชาติดอยหลวง และมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญที่ใช้สำหรับทำการเกษตร คือ ลำเหมืองท่าทราย, ลำเหมืองหางสัน, ลำเหมืองแม่ส้าน, ลำเหมืองหนองน้อย, ลำห้วยฝั่งตื้น, ลำห้วยใหญ่ , ลำห้วยโบสถ ลำห้วยจุมปู, ลำห้วยโทกธาร, คลองพระยาพรหม, หนองเขียว และ หนองฮ่าง

 

4. จำนวนประชากร
     องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ มีหมู่บ้าน จำนวน 17 หมู่บ้าน แยกได้ดังนี้

ที่

พื้นที่

จำนวนครัวเรือน

เพศชาย (คน)

เพศหญิง (คน)

รวม (คน)

1

หมู่ 1 บ้านม่วงคำ

278

328

384

712

2

หมู่ 2 บ้านทุ่งพร้าว

108

134

158

292

3

หมู่ 3 บ้านผามวัว

81

100

111

211

4

หมู่ 4 บ้านสันมะเหม้า

156

204

226

430

5

หมู่ 5 บ้านสันผักแค

135

166

179

345

6

หมู่ 6 บ้านสันน้ำบ่อ

108

166

147

313

7

หมู่ 7 บ้านสันต้นผึ้ง

176

227

243

470

8

หมู่ 8 บ้านฝั่งตื้น

112

151

153

304

9

หมู่ 9 บ้านสันต้นต้อง

152

192

189

381

10

หมู่ 10 บ้านสันขี้เบ้า

112

158

157

315

11

หมู่ 11 บ้านสันปู่ย่า

105

182

183

365

12

หมู่ 12 บ้านร่องบอน

84

88

111

199

13

หมู่ 13 บ้านดงเจริญ

83

123

98

221

14

หมู่ 14 บ้านสันผักแคใหม่

105

131

149

280

15

หมู่ 15 บ้านวังชมพู

80

106

107

213

16

หมู่ 16 บ้านสันต้นผึ้งใหม่

116

153

140

293

17

หมู่ 17 บ้านม่วงทอง

280

332

396

728

รวม

2,271

2,941

3,131

6,072

ที่มา  :  จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง ณ วันสำรวจ จากผลการจัดเก็บข้อมูล   ปี 2562

 

จำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ  ปี 2561
ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนในวันสำรวจข้อมูล พื้นฐานเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

สรุปประชากรที่อาศัยอยู่จริง ณ วันสำรวจ
มีครัวเรือนทั้งหมด                             2,265   ครัวเรือน
จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง ทั้งหมด    6,255    คน
เพศชาย                                         3,051    คน
เพศหญิง                                        3,204    คน

 

จำแนกตามช่วงอายุ

ช่วงอายุประชากร

จำนวนเพศชาย (คน)

จำนวนเพศหญิง (คน)

จำนวนรวม (คน)

น้อยกว่า 1 ปีเต็ม

1 ปีเต็ม – 2 ปี

3 ปีเต็ม – 5 ปี

6 ปีเต็ม – 11 ปี

12 ปีเต็ม – 14 ปี

15 ปีเต็ม – 17 ปี

18 ปีเต็ม – 25 ปี

50 ปีเต็ม – 59 ปี

60 ปีขึ้นไป

9

29

74

139

85

96

1,122

647

850

11

32

64

134

85

89

1,102

675

1,012

20

61

138

273

170

185

2,224

1,322

1,862

รวมทั้งหมด

3,051

3,204

6,255

 

5. สภาพทางเศรษฐกิจ


- อาชีพหลัก ที่สำคัญของประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ ได้แก่ อาชีพการเกษตรกรรม ได้แก่ อาชีพทำนา , อาชีพทำสวนผลไม้ , อาชีพเลี้ยงสัตว์ รับราชการ รับจ้างทั่วไป

- อาชีพเสริม ซึ่งมีทุกหมู่บ้าน ได้แก่ อาชีพจักสาน , อาชีพตัดเย็บผ้า , รับจ้าง และค้าขาย ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพรายได้ค่อนข้างมั่นคง

- กลุ่มอาชีพ ตำบลม่วงคำ

ลำดับที่

ชื่อกลุ่ม

หมู่ที่

จำนวนสมาชิก

ผลิตภัณฑ์

ชื่อประธานกลุ่ม

1

กลุ่มจักสานหมวกใบตาล

5

59

หมวกใบตาล

นางวิมล อุตะมะ

2

กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ

15

41

ปุ๋ยอัดเม็ด/ปุ๋ยผง

นายไผ่ เชื้อเมืองพาน

3

กลุ่มข้าวกล้อง

3

12

อาหาร

นางทองสาย  สุรินต๊ะ

4

กลุ่มจักสาน

6

12

หมวกใบตาล

นางสมสาย   มัฆวาล

5

กลุ่มจักสานผู้สูงอายุ

15

6

ซ้าหวด,ไซดักปลา

นายสุมิตร  สิทธิกัน

6

กลุ่มกล้วยฉาบบ้านวังชมภู

15

5

กล้วยฉาบ

นางต่วน จุมปู

7

กลุ่มน้ำพริกลาบ

5

11

น้ำพริก

นางอาภร คุณจิตร์

8

กลุ่มน้ำพริก

14

10

น้ำพริก

นางขวัญแก้ว  เตจ๊ะน้อย

9

กลุ่มหน่อไม้อัดบีบ

15

10

หน่อ

นางรุ่งนภา  สุขใส

 

-  หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

ลำดับที่

รายการ

จำนวน (แห่ง)

1

ปั้มน้ำมันและก๊าซ                                 

1

2

โรงงานอุตสาหกรรม                               

2

3

โรงสี                                                   

7

4

ร้านอาหาร                

18

5

ตลาดสดฯ

2

6

อู่ซ่อมรถ

8

7

ร้านค้า (ของชำ)

33

8

สหกรณ์

1

9

โรงแรม/ห้องเช่า

3

10

ร้านซ่อมอิเล็กทรอนิคส์

2

11

โรงผลิตคอนกรีตบล็อก

3

12

ร้านจำหน่ายปุ๋ย

2

13

โรงผลิตสุรา

1

14

โรงเรือนเลี้ยงสัตว์

6

15

ร้านทำเฟอร์นิเจอร์

4

16

ร้านผลิตและขายโลงศพ

3

17

ร้านตัดผม

6

18

ร้านรับซื้อและจำหน่ายของเก่า

1

19

ร้านเชื่อมโลหะ

2

20

ร้านล้างอัดฉีด

1

21

ร้านเกมส์

5

22

ร้านผ้าม่าน

1

23

โรงผลิตเครื่องดินเผา

1

24

เต็นท์รถมือสอง

1

25

ร้านจำหน่ายไม้ยูคา

1

26

ร้ายขายกรอบรูป

1

 

6. สภาพทางสังคม


6.1 การศึกษา


       องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ มีสถานศึกษาในพื้นที่ จำนวน 4 แห่ง แยกเป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 จำนวน 3 แห่ง โดยเป็นโรงเรียนเปิดสอนในระดับประถมศึกษาอย่างเดียว จำนวน 2 แห่ง และเปิดสอนในระดับประถมและมัธยม 1 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้

ลำดับที่

ชื่อสถานศึกษา

จำนวนนักเรียน (คน)

ชาย

หญิง

รวม

1

โรงเรียนบ้านฝั่งตื้น

63

53

116

2

โรงเรียนบ้านม่วงคำ

43

42

85

3

โรงเรียนบ้านสันต้นผึ้ง

17

18

35

4

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลม่วงคำ

21

23

44

ข้อมูล ณ วันที่ 10  มิถุนายน  2561

 

  1. 2  สถาบันและองค์กรทางศาสนา
              -  วัด จำนวน      14       แห่ง

ลำดับที่

รายชื่อวัด

ที่ตั้ง

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

วัดม่วงคำ

วัดทุ่งพร้าว

วัดสันกำแพง

วัดสันมะเหม้า

วัดสันผักแค

วัดสันน้ำบ่อ

วัดพระหิน

วัดนันทาราม

วัดสันต้นต้อง

วัดสันขี้เบ้า

วัดป่าถ่อนดอนแก้ว

วัดพระธาตุจอมแจ้ง

วัดเทพนิมิตมงคลวนาราม

วัดศรีนพรัตน์ดอยแก้ว

หมู่ 1 บ้านม่วงคำ

หมู่ 2 บ้านทุ่งพร้าว

หมู่ 3 บ้านผามวัว

หมู่ 4 บ้านสันมะเหม้า

หมู่ 5 บ้านสันผักแค

หมู่ 6 บ้านสันน้ำบ่อ

หมู่ 7 บ้านฝั่งตื้น

หมู่ 8 บ้านสันต้นผึ้ง

หมู่ 9 บ้านสันต้นต้อง

หมู่ 10 บ้านสันขี้เบ้า

หมู่ 11 บ้านสันปู่ย่า

หมู่ 12 บ้านร่องบอน

หมู่ 13 บ้านดงเจริญ

หมู่ 15 บ้านวังชมภู

 

6.3 การสาธารณสุข


- โรงพยาบาลของรัฐ ขนาด 120 เตียง 1 แห่ง
- ศูนย์สุขภาพชุมชน 1 แห่ง

 

 

6.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน


- ป้อมยามตำรวจ 1 แห่ง
- ป้อมยาม อปพร. 3 แห่ง

 

7. การบริการพื้นฐาน

7.1 การคมนาคม (แสดงจำนวนและสภาพคมนาคมทางบก)
ข้อมูลถนนสายทางหลักตำบลม่วงคำ

7.2 การโทรคมนาคม
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 9 แห่ง

7.3 การไฟฟ้า
- ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ครบทุกหลังคาเรือน

7.4 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
1. ฝาย 2 แห่ง
2. คลองชลประทาน 1 แห่ง
3. บ่อน้ำตื้นสาธารณะ(ม.6, ม.2) 2 แห่ง
4. ประปาหมู่บ้าน 12 แห่ง

 

 

8. ข้อมูลอื่น ๆ

8.1 ทรัพยากรในพื้นที่
ตำบลม่วงคำมีเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติดอยหลวง และมีพื้นที่ป่าชุมชน จำนวน 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ 9,10,11,12,13,15

8.2 มวลชนจัดตั้ง
1. กลุ่มพัฒนาสตรีและคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้านมี 17 หมู่บ้าน
2. สภาเด็กและเยาวชนตำบลม่วงคำ 146 คน
3. กลุ่มออมทรัพย์มี 4 หมู่บ้าน
4. กลุ่ม อสม. 194 คน
5. อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) 43 คน
6. อาสาสมัครพัฒนาหมู่บ้าน (อพม.) 34 คน
7. อาสาปศุสัตว์ 34 คน
8. อปพร. 110 คน
9. ทีมกู้ชีพกู้ภัยตำบลม่วงคำ (OTOS) 10 คน
10. ลูกเสือชาวบ้านมี 14 หมู่บ้าน จำนวน 2 รุ่น 786 คน

 

ข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบล

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Structure)

 

1.1 การคมนาคม ขนส่ง
- ถนนเส้นทางหลัก ระหว่างหมู่บ้านและระหว่างตำบลเป็นถนนลาดยางและคอนกรีต
- ถนนซอย ภายในหมู่บ้าน เป็นถนนคอนกรีต
- ถนนเส้นทางขนส่งพืชผลทางการเกษตร เป็นถนนลูกรัง และถนนดิน

 

1.2 แหล่งน้ำ
- น้ำเพื่อการบริโภค (น้ำดื่ม) ประชาชนร้อยละ 100 มีน้ำดื่มที่สะอาด
- น้ำเพื่อการอุปโภค (น้ำใช้) ใช้บาดาลผลิตประปาหมู่บ้าน ขุดบ่อน้ำตื้นใช้ส่วนตัว และใช้เป็นกลุ่มๆ บ้าง ขาดน้ำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ของทุกปี
- น้ำเพื่อการเกษตร ส่วนใหญ่ปัญหาเกิดในฤดูแล้ง เนื่องจากแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรไม่สามารถรองรับน้ำได้มีความตื้นเขินน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรมาจากระบบชลประทานโดยผู้ได้รับผลประโยชน์คือแหล่งพื้นที่อยู่ใกล้กับต้อง รอน้ำฝนอย่างเดียว จึงไม่สามารถทำการเกษตรได้ตลอดปี

1.3 ไฟฟ้า
- ไฟฟ้าภายในครัวเรือน มีไฟฟ้าครบทุกครัวเรือน
- ไฟฟ้าสาธารณะ การติดตั้งดำเนินการไปแล้ว ยังไม่ทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ใช้งบประมาณสูง

1.4 สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่ดำเนินการให้บริการ
- ลานกีฬาและสวนสาธารณะ สร้างได้อย่างจำกัด เนื่องจากขาดพื้นที่ก่อสร้าง
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน มีครบทุกหมู่บ้าน
- สถานที่อ่านหนังสือพิมพ์ ยังมีไม่ครบทุกหมู่บ้าน ต้องซ่อมแซมปรับปรุงเพิ่ม

 

2. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Environment and Natural Resources)

2.1 ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำของตำบลม่วงคำ ซึ่งประชาชนใช้ทำการเกษตร ที่สำคัญ เช่น หนองฮ่าง อ่างเก็บน้ำ หนองเขียว ชลประทาน

 

2.2 ทรัพยากรป่าไม้
- พื้นที่ตำบลม่วงคำบางส่วนจะอยู่ติดกับเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ซึ่งเต็มไปด้วยป่าไผ่ ป่าไม้เบญจพรรณ ไม้สัก และเป็นเขตพื้นที่ป่าชุมชนซึ่งประชาชนได้ช่วยกันดูแลและอนุรักษ์ โดยมีพื้นที่หมู่บ้านซึ่งมีพื้นที่อยู่ในเขตป่า คือ หมู่ที่ 9 , 10, 11, 12, 13 และหมู่ที่ 15

 

2.3 ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน
- พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลม่วงคำ มักเป็นดินร่วนปนเหนียว ซึ่งเป็นดินค่อนข้างดีเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชในระยะยาว หากมีการใช้สารเคมีจำนวนมาก อาจทำให้หน้าดินเสียความสมดุล จึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้ สารชีวภาพ ทั้งบำรุงและกำจัดศัตรูพืช เพื่อลดปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และเสื่อมโทรมในอนาคต ปัญหาสิทธิถือครองที่ดินซึ่งยังไม่ได้ดำเนินการอย่างชัดเจน การออกเอกสารสิทธิ์ยังไม่ ครอบคลุมถึง

2.4 ความหลากหลายทางชีวภาพ
- ปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นผลมาจากสาเหตุหลายประการ
ได้แก่ ความเจริญเติบโตและขยายตัวของชุมชนอย่างรวดเร็ว การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย ธรรมชาติ การ ถากถาง บุกรุกป่า เพื่อทำการเกษตร ทำไม้ ตลอดจนการถมพื้นที่ ชุ่มน้ำ และการพัฒนาพื้นที่ การเปลี่ยนพื้นที่ธรรมชาติไปเป็นที่ดินเพื่อการเกษตร และที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม การล่าสัตว์ การเก็บพืชหายาก การนำเอาชนิดพันธ์ต่างถิ่นเข้ามาเผยแพร่ ตลอดจนมลพิษต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เหล่านี้ล้วนทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพสูญเสีย

 

3. ด้านเศรษฐกิจ ( Economic)

 

3.1 อาชีพหลัก การเกษตร
- ทำนา เป็นส่วนใหญ่ เพื่อบริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย
- ทำไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลือง เพื่อจำหน่ายให้โรงงาน
- ทำสวนผลไม้ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ สับปะรด เป็นต้น
- เลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นสุกร ฟาร์มไก่ โค
- ประมง มีการเลี้ยงปลาในกระชัง ในสระส่วนตัว และเลี้ยงตามฤดูกาล

 

3.2 อาชีพเสริม (Raise Income)
(1) ทำมีด , เคียว กลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่หมู่ที่ 17
(2) จักสาน กลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่หมู่ที่ 3, 5 , 6 , 12 , 14
(3) ตัดเย็บผ้า กลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่หมู่ที่ 7, 11 , 14 , 17

 

      ประชากรตำบลม่วงคำ มีการสร้างงาน มีการจ้างแรงงานรายวันเกือบตลอดปี ส่วนใหญ่ปัญหารายได้ตกเกณฑ์มาตรฐานเกิดจากสาเหตุหลายประการ คือ
- ผู้มีรายได้ตกเกณฑ์ ไม่ขวนขวายในการฝึกอาชีพที่ส่วนราชการจัดฝึกให้
- กรณีมาฝึกแล้ว ไม่ประกอบอาชีพที่ฝึกหัด
- ชอบคุ้นเคยกับการอยู่แบบดั้งเดิมคือ หาเช้ากินค่ำ หรือได้เงินวันนี้ พรุ่งนี้หยุด ซึ่ง เป็นเรื่องยากต่อ

     การพัฒนาส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากราษฎรไม่เข้าร่วมกิจกรรมแล้วครอบครัวก็ขาดความเข้มแข็ง สังคมอ่อนแอ รายได้ไม่เพียงพอ หนี้สินเกิด อาชญากรรมตามมา เป็นปัญหาวงจรที่ประสบในการพัฒนาตำบลม่วงคำ แต่ก็มีจำนวนน้อยนิดเท่านั้น

4. ด้านสังคม (Social)

4.1 การศึกษา (Education)
องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ ได้สนับสนุนและส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งอยู่ในสังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ และสถานศึกษาที่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลม่วงคำ เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานครบ ส่งเสริม คุณภาพชีวิตในสถานศึกษา ประเภทอาหารเสริม อาหารกลางวัน และน้ำดื่มสะอาด เพื่อจะให้ได้รับอย่างทั่วถึง และเด็กที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการศึกษาต่อ

 

4.1.1 สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 แห่ง คือ
(1) โรงเรียนบ้านม่วงคำ
(2) โรงเรียนบ้านสันต้นผึ้ง
(3) โรงเรียนบ้านสันผักแค
(4) โรงเรียนบ้านฝั่งตื้น

4.1.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 ศูนย์ คือ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลม่วงคำ ซึ่งได้รับการถ่ายโอนจากกรมพัฒนาชุมชน และองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำได้ทำการยุบรวมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของหมู่บ้าน จำนวน 4 ศูนย์ วัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาและดูแลได้อย่างทั่วถึง โดยได้จัดรถรับ-ส่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเด็กนักเรียนและแบ่งเบาภาระให้กับผู้ปกครอง

 

4.2 ศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี

(1) ศาสนา (Religion) เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชนมีจำนวน 14 วัด และ 1 ศาลเจ้า ประชาชนให้ความเคารพนับถือเชิดชูศาสนา สังเกตได้จากการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกิจกรรมทางศาสนา เช่น ในวันสำคัญทางศาสนา

(2) วัฒนธรรม ประเพณี (Culture and Tradition) ประชาชนเริ่มรับวัฒนธรรมใหม่เข้ามาภายในตำบล แต่ยังอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมเอาไว้โดยเป็นประเพณีที่มีความแตกต่างกันในพื้นที่อยู่อาศัย เช่น การเลี้ยงผีขุนน้ำ เป็นประเพณีของหมู่บ้านซึ่งมีพื้นที่ติดอยู่กับป่า ทำให้ประชาชนมีความสามัคคีในการทำงานร่วมกันในสังคม

(3) ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้โดยได้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษาทุกโรงเรียน ประกอบกับ อบต.ม่วงคำ ได้ส่งเสริมการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น


5. การเมืองการบริหาร (Policy and Administration)


      การเมืองท้องถิ่น (Local Self Government) องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 หมู่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 34 คน คณะผู้บริหาร จำนวน 4 คน โดยแบ่งส่วนส่วนราชการภายในออกเป็น 4 ส่วน คือ สำนักงานปลัด อบต. ส่วนการคลัง ส่วนโยธา และส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
การบริหารท้องถิ่น (Local Self Administration)
- การบริหารสำนักงาน อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานไม่สามารถรองรับการให้บริการได้อย่างเต็มที่
- การบริหารการคลัง สถานะทางการคลังปานกลาง รายได้ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากภาษีที่ได้รับการจัดสรร และงบประมาณจากเงินอุดหนุน

รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล แยกเป็น 2 ประเภท
1) รายได้จากการจัดเก็บเองและรายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ เก็บให้
2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล

การบริหารงบประมาณ (Budgeting)
     งบประมาณ ในการจัดทำงบประมาณที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีและมีรายจ่ายตามแผนงานโดยยึดการจัดงบประมาณตามแผนพัฒนาตำบลระยะ 3 ปี เป็นหลักในการจัดทำงบประมาณ
รายรับรายจ่ายย้อนหลัง 3 ปี

 

6. การท่องเที่ยว (Tourism)

ตำบลม่วงคำมีสถานที่ท่องเที่ยว คือ
- ศาลเจ้าจี้กง ซึ่งเป็นศาลเจ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีความสวยงาม ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 15 บ้านวังชมภู

- ถ้ำผายาว ตั้งอยู่หมู่ที่ 13 บ้านดงเจริญ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว

- ป่าชุมชนบ้านร่องบอน หมู่ที่ 12 เป็นศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา เหมาะสำหรับการศึกษาธรรมชาติ
นอกจากจะมีที่ท่องเที่ยวที่สวยงามแล้ว ตำบลม่วงคำยังมีสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล (OTOP) เช่น มีด เคียว และหมวกใบตาล ที่เป็นสินค้าที่ทำชื่อเสียงให้กับตำบลม่วงคำด้วย