ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย วิสัยทัศน์ องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ “มุ่งมั่นพัฒนา ประสานการมีส่วนร่วม สร้างเสริมชีวิตที่ดี ประชาชนมีสุข”

ปลัด

สายตรงท่านนายก






333

ศูนย์ดำรงธรมม

facebook

ระบบสารสนเทศ

ปราบปรามทุจริต

องค์กรอื่นๆ

ข่าวสารอาเซียน

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 13/02/2562
วันนี้
70
เมื่อวานนี้
71
เดือนนี้
0
เดือนที่แล้ว
12,266
ปีนี้
53,215
ปีที่แล้ว
35,719
ทั้งหมด
184,088
ไอพี ของคุณ
18.232.179.37

อำนาจหน้าที่

 


อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)


1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)


2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้


1.จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
2.การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่ง ปฏิกูล
3.ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
4.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5.ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
6.ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
7.คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8.บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
9.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย


3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
1.ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
2.ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
3.ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
4.ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
5.ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
6.ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
7.บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
8.การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
9.หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
10.ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
11.กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
12.การท่องเที่ยว
13.การผังเมือง


อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ


พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้ อบต.มี อำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้
1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
2. การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ
3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
5. การสาธารณูปการ
6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
9. การจัดการศึกษา
10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
13. การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
14. การส่งเสริมกีฬา
15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
20. การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
22. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์
23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธราณสถานอื่นๆ
24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
25. การผังเมือง
26. การข่นส่ง และการวิศวกรรมจราจร
27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
28. การควบคุมอาคาร
29.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
30.การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอกภัยในชีวิต และ ทรัพย์สิน
31.กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในื้องถิ่นตามที่คระกรรมการประกาศกำหนด


อบต.มีความสำคัญอย่างไร


อบต. มีความสำคัญต่อชุมชน (หมู่บ้าน/ตำบล) ดังนี้
1.เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่พัฒนาตำบล ให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
2.เป็นหน่วยประสานทรัพยากรระหว่าง อบต. กับท้องถิ่นอื่น ๆ รวมทั้งหน่วยราชการ และหน่วยเอกชนอื่นๆ
3.เป็นเวทีประชาธิปไตยของประชาชนในการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น(สมาชิกสภา อบต.) เข้าไปมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจใช้งบประมาณ รายได้ ทรัพย์สินและระดมทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น
4.เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคนในท้องถิ่น ให้ทำงานเพื่อท้องถิ่นของตนก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นในท้องถิ่น เช่น สมาชิกสภา อบต. พนักงานและลูกจ้างของ อบต.
5.ส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นตรวจสอบการทำงานและใช้สิทธิถอดถอน ผู้แทนของตน(สมาชิกสภา)ที่ไม่ทำงานเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น


อบต.มีโครงสร้างอย่างไร
โครงสร้าง อบต.ประกอบด้วย
1.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล (สภา อบต.)
2.คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล (นายก อบต. และรองนายก อบต.)


สมาชิก อบต. มีหน้าที่อะไรบ้าง
สมาชิก อบต. มีหน้าที่
1. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบล
2. ให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตำบล / ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3. ควบคุมการทำงานของคณะผู้บริหาร 4. เข้าร่วมประชุมสภา อบต. ตามสมัยประชุม


คณะผู้บริหาร อบต. (นายก อบต. และรองนายก อบต.)มีหน้าที่อะไรบ้าง
คณะผู้บริหาร อบต.มีหน้าที่
1.บริหารงานของอบต. ให้เป็นไปตามข้อบังคับ และแผนพัฒนาตำบล
2.จัดทำแผนพัฒนาตำบลและข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีเสนอต่อสภาอบต.
3.รายงานผลการทำงาน และการใช้เงินสภา อบต. ทราบ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
4.ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ทางราชการมอบหมาย เข้าร่วมประชุมกับสภา อบต. ตามสมัยประชุม

 


บทบาทหน้าที่ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

บทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องตรา "ข้อบังคับตำบล" ออกมาใช้ในการดูแลสวัสดิการ ตลอดจน "ทุกข์" และ" สุข" ของประชาชนรวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ถอดถอนผู้บริหารหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนั้นจึงต้อง เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยที่ต้องเผยแพร่และปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตย ไปยังประชาชนในตำบล
แนวทางปฎิบัติในด้านบทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ มีดังนี้

1. ต้องยึดมั่นในกติกาประชาธิปไตย เช่น การเลือกต้งดดยเสรี การใช้สิทธิคัดค้าน การโต้แย้ง การแสดงความคิดเห็น อย่างกว้างขวาง การยอมรับและเคารพสิทธิของผู้อื่นการยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของกฏหมาย ฯลฯ

2. ต้องมีวิถีการดำเนินชีวิตและบุคลิกลักษณะที่เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย เช่น เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง ฟังเคารพ ในเหตุผล
ประชาชนในเขต อบต. มีสิทธิและหน้าที่ดังนี้
1. มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.
2. ถอดถอนสมาชิกหรือผู้บริหาร อบต.
3. เสนอให้ออกข้อบังคับตำบล
4. แสดงเจตนารมณ์ในการรวม อบต.
5. เข้าฟังการประชุมสภา อบต.
6. เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการการซื้อ การจ้าง โดยวิธีสอบราคา ประกวดราคา และวิธีพิเศษของ อบต. อย่างน้อยคณะละ 2 คน
7. มีหน้าที่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต.
8. ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับตำบล
9. เสียภาษีแก่ อบต.
10. สนับสนุนและร่วมกิจกรรมกับ อบต.
11. ติดตามและดูแลการใช้จ่ายงบประมาณของ อบต.
12. ร่วมกันเสริมสร้างชุมชน และประชาคมหมู่บ้าน ของตนให้เข้มแข็ง
13. ได้รับบริการสาธารณะ และการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข จาก อบต. ตามอำนาจหน้าที่ของ อบต.

 

โครงสร้างส่วนการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล   แบ่งออกเป็น

 

 

 

สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 

 

มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบล งานเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล งานกิจการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล การบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง งานสวัสดิการสังคม งานสังคมสงเคราะห์ งานพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส งานส่งเสริมการท่องเที่ยว งานส่งเสริมการเกษตร งานการพาณิชย์ งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานรักษาความสงบเรียบร้อย งานจราจร งานประชาสัมพันธ์ งานส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ งานนิติการ งานการเลือกตั้ง งานคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ งานสิ่งแวดล้อม และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกองสำนักหรือส่วนราชการใดในองค์กรบริหารส่วนตำบลเป็นการเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติการราชการของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล งานบริการข้อมูล สถิติช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

 

-  กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่

 

มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนตำบล  ลูกจ้างประจำ  และพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล  งานวิเคราะห์การวางแผนอัตรากำลัง  งานจัดตั้งส่วนราชการและการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการ  งานการกำหนดตำแหน่งและการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง  งานการสรรหาเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน  สอบคัดเลือก  การคัดเลือก  การย้าย  การโอน  การรับโอน  การคัดเลือกเพื่อรับโอน  งานบรรจุและแต่งตั้ง  งานจัดทำควบคุม  ตรวจสอบ  แก้ไข  บันทึกข้อมูลทะเบียนประวัติ  งานระบบสารสนเทศข้อมูลบุคลากรท้องถิ่นแห่งชาติ  งานประเมินผลการปฏิบัติราชการ  งานเกี่ยวกับเงินเดือน  ค่าจ้าง  และค่าตอบแทน  งานการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น งานการลาทุกประเภท  งานแผนพัฒนาบุคลากร  งานอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

 

 

 

กองคลัง 

 

มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ  งานการจ่ายเงิน  การรับเงิน  การจัดเก็บภาษี  ค่าธรรมเนียม  และการพัฒนารายได้           งานสรุปผล  สถิติการจัดเก็บภาษี  ค่าธรรมเนียม  งานนำส่งเงิน  การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน  งานการตรวจสอบใบสำคัญ  ฎีกาทุกประเภท  งานการจัดทำบัญชี  งานตรวจสอบบัญชีทุกประเภท  งานเกี่ยวกับเงินเดือน  ค่าจ้าง  ค่าตอบแทน  เงินบำเหน็จ  บำนาญ  และเงินอื่น ๆ  งานจัดทำหรือช่วยจัดทำงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ งานเกี่ยวกับสถานะการเงินการคลัง  งานการจัดสรรเงินต่าง ๆ  งานทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ  งานควบคุมการเบิกจ่ายเงิน  งานทำงบทดลองประจำเดือนและประจำปี  งานเกี่ยวกับการจัดซื้อ  จัดจ้าง  จัดหา  งานทะเบียนคุม  งานการจำหน่าย  พัสดุ  ครุภัณฑ์  และทรัพย์สินต่าง ๆงานเกี่ยวกับเงินประกันสัญญาทุกประเภท  งานบริการข้อมูล  สถิติ  ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการด้านการเงิน  การคลัง  การบัญชี การพัสดุและทรัพย์สิน  งานอื่น ๆที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

 

-  ฝ่ายการเงินและบัญชี

 

มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่ายเงิน  การรับเงิน  งานสรุปผล  งานนำส่งเงิน  การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน  งานการตรวจสอบใบสำคัญ  ฎีกาทุกประเภท  งานการจัดทำบัญชี  งานตรวจสอบบัญชีทุกประเภท       งานเกี่ยวกับเงินเดือน  ค่าจ้าง  ค่าตอบแทน  เงินบำเหน็จ  บำนาญ  และเงินอื่น ๆ  งานจัดทำหรือช่วยจัดทำงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ  งานเกี่ยวกับสถานะการเงินการคลัง  งานการจัดสรรเงินต่าง ๆ  งานทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ  งานควบคุมการเบิกจ่ายเงิน  งานทำงบทดลองประจำเดือนและประจำปี  งานบริการข้อมูล  สถิติ  ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการด้านการเงิน  การคลัง  การบัญชี  งานอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

 

 

กองช่าง 

 

มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ  งานสำรวจ  งานออกแบบ  และเขียนแบบ  งานประมาณราคา  งานจัดทำราคากลาง     งานจัดทำข้อมูลด้านวิศวกรรมต่าง ๆ  งานจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ  งานจัดทำทะเบียนประวัติโครงสร้างพื้นฐาน  อาคาร  สะพาน  คลอง  แหล่งน้ำ  งานติดตั้งซ่อมบำรุงระบบไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณจราจร  งานปรับปรุงภูมิทัศน์  งานผังเมืองตามพระราชบัญญัติการผังเมือง  งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย  งานตรวจสอบการก่อสร้าง  งานจัดทำแผนปฏิบัติงาน การก่อสร้างและซ่อมบำรุงประจำปี  งานการควบคุมก่อสร้างและซ่อมบำรุง  งานจัดทำประวัติ  ติดตาม  ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล  งานจัดทำทะเบียนประวัติการใช้เครื่องจักรกลและยานพาหนะ  งานแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ  งานเกี่ยวกับการประปา  งานเกี่ยวกับการช่างสุขาภิบาล  งานช่วยเหลือสนับสนุนเครื่องจักรกล  งานช่วยเหลือสนับสนุนการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย  งานช่วยเหลือสนับสนุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  งานจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดซื้อ  เก็บรักษา  การเบิกจ่ายวัสดุ  อุปกรณ์  อะไหล่  น้ำมันเชื้อเพลิง  งานบริการข้อมูล  สถิติ  ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการด้านวิศวกรรมต่างๆ  งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

 

 

กองการศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม 

มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ  งานบริหารการศึกษา  งานพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา  การศึกษานอกระบบการศึกษา  และศึกษาตามอัธยาศัย  เช่น  การจัดการศึกษาปฐมวัย  อนุบาลศึกษา  ปฐมศึกษา  มัธยมศึกษา  และอาชีวศึกษา  งานบริหารวิชาการด้านวิชาการศึกษา  งานโรงเรียน  งานกิจการนักเรียน  งานการศึกษาปฐมวัย งานขยายโอกาสทางการศึกษา  งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ  งานห้องสมุด  งานพิพิธภัณฑ์  งานเครือข่ายทางการศึกษา  งานศึกษานิเทศ  งานส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตร  งานพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา  งานการศาสนา  งานบำรุงศิลปะ  จารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น  งานการกีฬาและนันทนาการ  งานกิจกรรมเด็กเยาวชนและการศึกษานอกโรงเรียน  งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  งานส่งเสริมด้านสวัสดิการ  สวัสดิภาพและกองทุนเพื่อการศึกษา  งานบริหารงานบุคคลของพนักงานครู  บุคลากรทางการศึกษา  ลูกจ้าง  และพนักงานจ้างสังกัดสถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  กรณียังไม่จัดตั้งกองการเจ้าหน้าที่  งานบริการข้อมูล  สถิติ  ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการ  งานอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับการมอบหมาย

 

 

ตรวจสอบภายใน  

 

มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ  งานจัดทำแผนการตรวจสอบภายในประจำปี  งานการตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้ของเอกสารทางการเงิน  การบัญชี  เอกสารการรับการจ่ายเงินทุกประเภท  ตรวจสอบการเก็บรักษาหลักฐานการเงิน การบัญชี  งานตรวจสอบการสรรหาพัสดุและทรัพย์สิน  การเก็บรักษาพัสดุและทรัพย์สิน  งานตรวจสอบการทำประโยชน์จากทรัพย์สินของ  องค์การบริหารส่วนตำบล  งานตรวจสอบ  ติดตาม  และการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการให้เป็นไปตามนโยบาย  วัตถุประสงค์  และเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผลและประหยัด  งานวิเคราะห์และประเมินความมีประสิทธิภาพ  ประหยัด  คุ้มค่า  ในการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่าง ๆ  งานประเมินการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ  งานรายงานผลการตรวจสอบภายใน  งานบริการข้อมูล  สถิติ  ช่วยเหลือให้คำแนะนำแนวทางการแก้ไข  ปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยรับตรวจและผู้เกี่ยวข้อง  งานอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย