|
คำขวัญ องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ
***************************
ป่าชุมชนล้ำค่า ไหว้สาพระธาตุจอมแจ้ง แหล่งผลิตมีด/เคียว
เที่ยวศาลเจ้าจี้กง คงวัฒนธรรมล้านนา
วิสัยทัศน์ องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ
***************************
มุ่งมั่นพัฒนา ประสานการมีส่วนร่วม สร้างเสริมชีวิตที่ดี ประชาชนมีสุข
ยุทธศาสตร์พัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
แนวทางการพัฒนา
1.1 การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบคมนาคมและขนส่ง ทางระบายน้ำ สะพาน ตลอดจนป้ายเส้นทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรรองรับเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
1.2 การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในเขตองค์กรปกครอง 1.3 พัฒนาด้านการผังเมือง การดูแลรักษาที่สาธารณะ และงานควบคุมอาคาร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
แนวทางการพัฒนา
2.1 ส่งเสริมแนวทางการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในการดำเนินชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ประชาชนได้พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
2.2 การพัฒนาระบบชลประทาน หรือการพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร
2.3 ส่งเสริมการสร้างงานและสร้างอาชีพให้แก่ประชาชน ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และหัตถกรรม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
2.4 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นระบบและมีคุณภาพและส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดแหล่งแหล่งท่องเที่ยวใหม่ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
แนวทางการพัฒนา
3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพและตามเกณฑ์มาตรฐาน
3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้คู่คุณธรรม พร้อมทั้งการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.3พัฒนาบุคลากรและสื่อการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมเพื่อให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
แนวทางการพัฒนา
4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านสาธารณสุข การป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ การอนามัยครอบครัว
4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะ วัฒนธรรมล้านนา จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.3 ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และครอบครัว สตรี ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส
4.4 ส่งเสริมและพัฒนาการจัดระเบียบชุมชน การรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ
4.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการ การสร้างสวนสาธารณะ ลานกีฬาและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความสมบูรณ์และยั่งยืน
แนวทางการพัฒนา
5.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสียในชุมชนมลพิษทางอากาศตลอดจนการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน
5.2 ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือและจิตสำนึกให้กับประชาชนในการอนุรักษ์คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาแหล่ง ป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆให้เกิดประโยชน์และผลสำเร็จอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร
แนวทางการพัฒนา
6.1 ส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชน ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพรวมถึงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
6.2 พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสตลอดจนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอรัปชั่น พร้อมให้บริการที่มีประสิทธิภาพแก่ประชาชน
6.3 พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องใช้ เทคโนโลยี สถานที่ปฏิบัติงานและระบบการให้บริการประชาชน
พันธกิจ
1. ให้มีและบำรุงรักษา ทั้งการคมนาคมและระโครงสร้างพื้นฐาน
2. ส่งเสริมการศาสนาและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับประชาชน
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพของประชาชน
4. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม
6. ส่งเสริมการสาธารณสุขและสุขภาพอนามัยของประชาชน
7. ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
9. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
10. การพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพและพร้อมให้บริการประชาชน
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
1. การคมนาคมสะดวก รวดเร็ว/ระบบโครงสร้างพื้นฐานได้รับการซ่อมแซมปรับปรุง บำรุงรักษา
2. ประชาชนมีความรักและหวงแหนศิลปะล้านนา และภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง
3. ประชาชนมีอาชีพและรายได้พอเพียง
4. เด็กเยาวชนและประชาชนได้รับการศึกษาและพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
5. ประชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รู้และเข้าใจถึงโทษของยาเสพติด จำนวนผู้ติดยาเสพติดลดลง หรือหมดไปจากท้องถิ่น
6. ประชาชนมีสุขภาพ สุขภาพจิตที่ดี
7. ประชาชนรักและหวงแหนร่วมกันอนุรักษ์ป่าชุมชนและสิ่งแวดล้อม
8. แหล่งน้ำทางการเกษตรได้รับการพัฒนาเกษตรกรมีน้ำเพื่อใช้ทำการเกษตรอย่างพอเพียง
9. มีอุปกรณ์และระบบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่พร้อมให้การช่วยเหลือประชาชน
10. บุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีประสิทธิภาพในการทำงานและการให้บริการประชาชน